กล้วยไม้พืชมหัศจรรย์ที่เราสามารถพบได้ทั่วทวีปของโลกและกล้วยไม้ที่ขึ้นแต่ละพื้นที่ก็มีลักษณะที่แตกต่างกันออกไป
การจำแนกกล้วยไม้และระบบรากทำให้การศึกษาข้อมูลทำได้ดีขึ้นถึงลักษณะของมันที่แตกต่างกันออกไปแต่ละสกุล
เราจะทำจำแนกกล้วยไม้ตอนนี้เพื่อศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับมัน
-กล้วยไม้บนโลกนี้แบ่งออกเป็น 2 แบบ
แบบที่ 1 กล้วยไม้ที่เจริญเติบโตแบบแตกยอดไปเรื่อยๆ (monopodial)
แบบที่ 2 กล้วยไม้ที่เจริญเติบโตแบบแตกกอเรื่อยๆ (Sympodial)
-ระบบรากอากาศ
กล้วยไม้ที่เจริญเติบโตแบบแตกยอดไปเรื่อยนั้นจะมีระบบรากเป็นรากอากาศขนาดกลางไปถึงขนาดใหญ่ส่วนหนึ่งใช้ในการยึดเกาะกับวัตถุที่ขึ้นและรากส่วนหนึ่งห้อยลงมา
เราเรียกส่วนนี้ว่ารากอากาศมีลักษณะสีขาวเทาอมน้ำเมื่อเปียก
ส่วนปลายรากเป็นสีเขียวคือคลอโรฟิวส์ใช้ในการสังเคราะห์แสงปลายรากนี้จะเดินไปตามแสงแดดเพื่อสังเคราะห์
กล้วยไม้ที่มีลักษณะรากอากาศได้แก่ สกุลช้าง สกุลเข็ม
สกุลเอื้องกุหลาบ สกุลเอสโคเซนด้า สกุลแวนดอปซิส
สกุลม็อคคาร่า เป็นต้น
-ระบบรากกึ่งอากาศ
กล้วยไม้ที่เจริญเติบโตแบบแตกกอไปเรื่อยๆนั้นจะมีระบบรากเป็นรากฝอยขนาดเล็กและมีลักษณะสั้นสีขาวส่วนปลายรากเป็นสีเขียวใช้ในการยึดเกาะกับวัตถุที่ขึ้นอย่างเหนียวแน่นและมีลักษณะเป็นรากฝอยขนาดเล็กมากมายและรากที่งอกออกมาจากโคนลำลูกกล้วยจะเป็นลำต้นที่เกิดใหม่คืองอกจากต้นเดิมเพื่อใช้ในการยึดเกาะวัสดุและหาความชื้นและอาหารเพิ่มเพื่อการเจริญเติบโตของลำลูกกล้วยต่อไป กล้วยไม้ที่มีระบบรากกึ่งอากาศได้แก่
สกุลหวาย สกุลแคทลียา สกุลซิมบิเดียม สกุลออนซิเดียม สกุลแกรมมาโตฟิลลั่ม
สกุลซีโรจีเน่ สกุลสิงโต เป็นต้น
-ระบบรากกึ่งดิน
กล้วยไม้ที่ขึ้นตามอินทรีย์วัตถุใบไม้กองถมที่มีความชื้นมากๆและแม้กระทั่งขึ้นบนหินภูเขาไปหรือภูเขาหินปูนระบบรากของกล้วยไม้แบบนี้มีความพิเศษที่รากจะมีความนิ่มอยู่ใต้ดินก็ได้
อยู่ตามซอกหินก็ได้ กล้วยไม้ที่มีระบบรากกึ่งดินได้แก่ กล้วยไม้สกุลรองเท้านารี (Paphiopedilum) เป็นต้น
-ระบบรากดิน กล้วยไม้ที่มีหัวฝังอยู่ใต้ดินและมีระบบรากดิน
เมื่อถึงฤดูกาลที่เหมาะสมกล้วยไม้ที่ฝังหัวอยู่ใต้ดินนี้ก็จะงอกแตกใบออกดอกตามฤดูและแพร่ขยายพันธุ์ต่อไป
กล้วยไม้ที่มีลักษณะแบบนี้ได้แก่ สกุล เอื้องพร้าว สกุลยูโรเฟีย เป็นต้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น